การนอนกรน
Health

นอนกรนเกิดจากอะไร อาการนอนกรนเกิดจาก การที่ช่องทางเดินหายใจส่วนต้นของเรา เกิดการตีบแคบลง ทำให้ลมหายใจที่ผ่านเข้ามาผ่านช่องที่แคบนี้ เกิดการกระพือ และกลายเป็นเสียงกรนขึ้น ดยปกติตามธรรมชาติ คนเราเมื่อนอนหลับ กล้ามเนื้อต่างๆ จะมีการหย่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอวัยวะในช่องทางเดินหายใจของเรา เช่น เพดานอ่อน หรือโคนลิ้น ก็จะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงได้ โดยเฉพาะเวลาที่เรานอนหงาย ทีนี้ พอช่องทางเดินหายใจมันแคบลง เวลาเราหายใจเอาอากาศเข้ามา ลมที่ผ่านช่องที่แคบนี้ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเกิดการกระพือ (คล้ายๆ กับเวลาที่ลมเป่าลมผ่านหลอดเล็กๆ นั่นแหละครับ) เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการกระพือ หรือสั่นสะเทือน ก็จะเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น และนี่ก็คือสาเหตุของการนอนกรนนั่นเอง  สียงกรนที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น ถ้าเกิดการสั่นที่เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนในลำคอ หรือถ้าเกิดการสั่นที่เนื้อเยื่ออ่อนด้านหลังโพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนแบบขึ้นจมูก เป็นต้น สาเหตุการนอนกรน ที่พบได้บ่อยๆ มีดังนี้ น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เบื้องต้นดูได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ครับ ไขมันในช่องคอหนา ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้ นอนกรนมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สูบบุหรี่เป็นประจำ ความเหนื่อย กับการนอนกรน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมาก นอนหงายเป็นประจำ ช่องจมูกคด ช่องจมูกตีบตัน อาจเนื่องจากภูมิแพ้ การรับประทานยาบางชนิด ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินหายใจ สรีระผิดปกติ เช่น คางเล็ก ลิ้นไก่ใหญ่กว่าปกติ โคนลิ้นอ้วน เป็นต้น วิธีรักษานอนกรนด้วยหลักการแพทย์ หากท่านพบแพทย์ และทำการตรวจการนอนหลับแล้ว แพทย์มักแนะนำทางเลือกในการรักษานอนกรน ดังนี้ ใช้เครื่องอัดอากาศ CPAP ใช้ที่ครอบฟัน (Oral appliance) ผ่าตัด (Surgical Treatment) วิธีแก้อาการนอนกรนด้วยตัวเองแบบง่ายๆ นอกจากการรักษาโดยการพบแพทย์แล้ว ในเบื้องต้น ท่านอาจเริ่มทำตามวิธีต่างๆ ที่ผมกำลังจะบอกให้เหล่านี้ เพื่อแก้อาการนอนกรนด้วยตัวท่านเองก็ได้ครับ ซึ่งวิธีเหล่านี้ เป็นเพียงการแก้ไขเบื้องต้นเท่านั้น และใช้บรรเทาอาการกรนแบบธรรมดา ที่ไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย หากท่านมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ท่านต้องไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาตามหลักการแพทย์เท่านั้นนะครับ วิธีแก้นอนกรนด้วยตัวเอง เปลี่ยนท่านอน โดยมากท่านอนหงาย จะเป็นท่าที่ทำให้เกิดการกรนมากที่สุด ท่านอาจลองปรับมานอนตะแคงดูก็ได้ หรือถ้านอนตะแคงไม่ได้จริงๆ ก็ให้นอนหงายแต่พยายามหาอะไรมารองหนุนศีรษะ เพื่อยกระดับศีรษะตอนนอนให้สูงขึ้น ก็พอช่วยได้ครับ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ข้อนี้ทุกท่านควรทำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะนอนกรนหรือไม่ก็ตาม การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อในช่องทางเดินหายใจมีความแข็งแรงขึ้น ทำให้ขณะที่นอนหลับกล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องคอ จะได้ไม่หย่อนลงมาขวางช่องทางเดินหายใจของเราได้ ลดน้ำหนัก อันนี้มีผลโดยตรง หากน้ำหนักเราลดลง ไขมันต่างๆ ในช่องคอก็จะลดลง ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน งด ชา กาแฟ ก่อนนอน เลิกบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่นอกจากจะทำร้ายร่างกายของเราแล้ว อาจมีผลทำให้ระบบทางเดินหายใจของเราผิดปกติ และเกิดการกรนได้ ทำความสะอาดเครื่องนอนอย่างสม่ำเสมอ เช่น หมอน ผ้าปูเตียง ผ้าห่ม เพราะสิ่งสกปรก หรือเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามเครื่องนอนของเรานั้น อาจทำให้เกิดหอบหืด ภูมิแพ้ได้ ซึ่งทำให้ช่องทางเดินหายใจของเราตีบแคบ และเกิดเสียงกรนได้ครับ ลองเพิ่มความชื้นภายในห้องนอนของท่าน เช่น  หาแก้วหรือชามใส่น้ำมาวางไว้ข้างๆ เตียงนอน หรือซื้อเครื่องทำความชื้นมาไว้ในห้อง ล้างจมูกบ่อยๆ แนะนำให้ล้างด้วยน้ำเกลือ โดยใช้กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าทางรูจมูกเป็นประจำก่อนนอน เพื่อทำให้จมูกโล่ง

2022-02-28 10:47:46

อ่านเพิ่มเติม
วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5
Health

วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วยตัวเอง ฝุ่น PM 2.5 และผลกระทบต่อสุขภาพไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่แค่ปล่อยไว้เดี๋ยวฝุ่นก็หายไปหรือไม่นานอาการจากการหายใจเอาฝุ่นเข้าไปมาก ๆ ก็จะดีขึ้น  รับมือกับฝุ่น PM 2.5 เมื่ออยู่นอกบ้าน หากจำเป็นต้องออกไปใช้ชีวิต เรียน ทำงาน หรือทำกิจกรรมใด ๆ นอกบ้านในช่วงที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้ สวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานและระบุชัดเจนว่าช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เช่น หน้ากากมาตรฐาน N95 หรือ KF94 จากแหล่งผลิตมาตรฐาน เนื่องจากหน้ากากอนามัยแบบทั่วไปหรือประเภทกันซึม (Surgical Mask) มักไม่สามารถกรองฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้  เลือกไปในสถานที่ที่มีคนน้อย ไม่แออัด และห่างไกลจากถนนที่มีการจราจรคับคั่ง หากต้องอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นละออง ควรจำกัดระยะเวลาการอยู่ภายนอกบ้านหรือการทำกิจกรรมกลางแจ้งให้น้อยลง  หากต้องการออกกำลังกายควรงดกิจกรรมหรือกีฬาประเภทที่ทำให้หายใจแรงหรือเร็วมาก เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การเตะฟุตบอล หรือการเล่นแบดมินตัน เพราะอาจทำให้เราหายใจเอาฝุ่นเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการสวมหน้ากาก N95 ขณะออกกำลังกายด้วย เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจน หลีกเลี่ยงถนนหรือบริเวณริมถนนที่มีรถติดหรือสัญจรไปมาอยู่เสมอ เนื่องจากยานพาหนะบางประเภทอาจปล่อยควันดำหรือฝุ่น PM 2.5 ออกมาได้ ไม่เผาไม้ ใบไม้ ขยะ หรือกระดาษเงินกระดาษทองในที่โล่งแจ้งแม้จะเป็นขยะหรือกิ่งไม้กองเล็ก ๆ ก็ตาม เนื่องจากการเผาสิ่งของเหล่านี้สามารถสร้างฝุ่นละอองในอากาศให้มากขึ้น  ป้องกันฝุ่น PM 2.5 เมื่ออยู่ในบ้าน บางคนอาจคิดว่าแค่อยู่ในบ้านก็ปลอดภัยแล้ว แต่ที่จริงฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้ามาในที่อยู่อาศัยของเราได้ จึงควรลดปริมาณฝุ่นละอองภายในบ้านด้วยวิธีต่อไปนี้ หากบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองสูงควรปิดประตูหรือหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นจากภายนอกเข้ามาในบ้าน  หาอุปกรณ์หรือตัวช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองหรือฟอกอากาศภายในบ้าน อาทิ เครื่องฟอกอากาศ หรือต้นไม้ขนาดย่อม ๆ   หมั่นเช็ดล้างและทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ให้สะอาด ปราศจากฝุ่นอยู่เสมอ หากต้องการใช้เครื่องดูดฝุ่นควรเลือกรุ่นที่มีแผ่นกรอง HEPA (High Efficiency Particulate Air) ซึ่งจะช่วยดักจับฝุ่น ควัน ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือสิ่งแปลกปลอมในอากาศได้ดีกว่าแผ่นกรองทั่วไป  ไม่ควรสูบบุหรี่หรือประกอบอาหารที่ใช้ฟืนหรือถ่าน เพื่อลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศ    อ้างอิง :https://www.pobpad.com

2022-02-28 10:46:53

อ่านเพิ่มเติม
โรคเบาหวาน
Health

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น อาการของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย  มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ อาการของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกัน ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย  มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก เป็นต้น ทั้งนี้ อาการของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ การรักษาโรคเบาหวาน การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ การรักษาโรคเบาหวาน การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์   อ้างอิง :https://www.pobpad.com/โรคเบาหวาน

2022-02-15 09:35:08

อ่านเพิ่มเติม
โรคตาบอดสี
Health

ตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) เป็นภาวะการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจนหรือผิดเพี้ยนไปจากผู้ที่มีสายตาผิดปกติ โดยมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การมองเห็นสีของดวงตาจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว  ส่วนอีกชนิด คือ เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) ที่มีความไวในการรับแสงที่สว่างกว่าเซลล์รูปแท่ง และสามารถแยกแสงสีต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยเซลล์รูปกรวยนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ เซลล์รูปกรวยชนิดที่ไวต่อแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์รูปกรวยครบทั้ง 3 ชนิดที่ไวต่อแสง แต่ละสีก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองในการแยกสี และการผสมของแสงสีต่าง ๆ จากเซลล์นี้ จึงทำให้คนปกติสามารถมองเห็นสีได้หลายโทนสี   อาการของตาบอดสี ภาวะตาบอดสีในแต่ละบุคคลอาจมีอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของตาบอดสีที่เป็น แต่อาจจะสังเกตได้จากสัญญาณเตือนเหล่านี้ จดจำและแยกสีต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในการบอกสีที่เห็น เช่น แยกความต่างของสีเขียวและแดงไม่ได้ แต่สามารถแยกสีน้ำเงินและเหลืองได้ง่าย สามารถมองเห็นสีได้หลากหลายสี แต่บางสีอาจมองเห็นต่างไปจากคนอื่น มองเห็นเฉพาะบางโทนสีเท่านั้น ซึ่งต่างจากคนปกติที่จะสามารถมองเห็นสีได้มากกว่าร้อยสีในบางรายสามารถมองเห็นได้เฉพาะสีดำ ขาว และเทา แต่แทบไม่พบตาบอดสีประเภทนี้ สาเหตุของตาบอดสี ตาบอดสีเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ กรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุหลักของตาบอดสีได้มากที่สุด หากบุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีจะส่งต่อพันธุกรรมไปยังรุ่นต่อไปโดยการถ่ายทอดผ่านยีนด้อยบนโครโมโซมเพศชนิดเอ็กซ์ สาเหตุอื่น ในบางราย ตาบอดสีอาจเกิดได้จากสภาวะบางอย่างของร่างกาย เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ได้ตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น โรคเกี่ยวกับด้านดวงตาหรือการบาดเจ็บบริเวณจอตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา โรคอื่น ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคเบาหวาน หรือโรคพาร์กินสัน ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด   การได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์หรือสไตรีน อาจส่งผลต่อการสูญเสียการมองเห็นสี การรักษาตาบอดสี ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์หรือจักษุแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นตาบอดสีที่มีสาเหตุมาจากสภาวะหรือโรคประจำตัวอื่น ๆ อย่างโรคเบาหวานตา แพทย์จะรักษาจากสาเหตุหลักของโรค เพื่อช่วยให้อาการโดยรวมดีขึ้นและบรรเทาอาการแทรกซ้อนทางสายตาให้ดีขึ้นด้วย การป้องกันตาบอดสี ตาบอดสียังไม่สามารถป้องกันการเกิดได้อย่างเต็มที่ แต่สามารถเลี่ยงหรือลดโอกาสการเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยควรมีการตรวจคัดกรองตาบอดสีและทดสอบสายตาในเด็กอายุประมาณ 3-5 ขวบ หรือเด็กควรได้รับการตรวจสายตาอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนเข้าโรงเรียน แต่หากเป็นบุคคลที่มีคนในครอบครัวเป็นตาบอดสี ควรมีการตรวจเช็คสายตาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ผู้ที่ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นตาบอดสี ควรสังเกตความผิดปกติของสายตาตนเองเช่นกัน เนื่องจากตาบอดสีเกิดได้จากสาเหตุอื่น เมื่อสงสัยว่ามีปัญหาทางด้านสายตาหรือการมองเห็นสีที่ผิดปกติไป ควรรีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์ เพื่อค้นหาต้นเหตุความผิดปกติและได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี   อ้างอิง :https://www.pobpad.com/ตาบอดสี  

2022-02-15 09:13:27

อ่านเพิ่มเติม
โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
Health

โรคภูมิแพ้ เกิดจากอะไร?โรคภูมิแพ้ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เมื่อได้รับ “สารก่อภูมิแพ้” เข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการปฏิกิริยาที่ผิดปกติ สารก่อภูมิแพ้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง อาทิ ทางเดินหายใจ การกินอาหาร การสัมผัส ซึ่งโรคภูมิแพ้สามารถเกิดได้ใน 2 สาเหตุหลัก คือ กรรมพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยการเกิดจากกรรมพันธุ์ มีความเป็นไปได้ว่าหากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นก็มีสูงมากถึง 60% อาการของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนใหญ่แล้วโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจประกอบด้วยการแพ้ที่แสดงออกทางจมูก ช่องคอ หลอดลม โดยอาจมีอาการคันตา เคืองตา หรือมีน้ำตาไหลร่วมด้วย ซึ่งภูมิแพ้ทางเดินหายจะเกิดได้ใน 2 ส่วนหลัก คือ ทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณโพรงจมูก อาการส่วนใหญ่ที่พบคือ ไอ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก หูอื้อ หายใจไม่สะดวกเพราะเนื้อเยื่อในจมูกบวมขึ้นทางเดินหายใจส่วนล่างบริเวณหลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจเสียงหวีด ไอเรื้อรัง เหนื่อยง่าย หรือเป็นโรคหืด ที่คนส่วนมากชอบเรียกว่าโรคหอบหืด ภูมิแพ้ทางเดินหายใจรักษาหายไหมหัวใจสำคัญของการรักษาโรคภูมิแพ้คือต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายต่อสู้กับสารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงมลพิษเช่น pm2.5 ร่วมกับการพบแพทย์ ติดตามอาการ อาจมีการใช้ยาพ่นจมูก ใช้น้ำเกลือล้างจมูก รวมถึงรับประทานยาแก้แพ้เพิ่มเวลามีอาการ ช่วยให้อาการต่างๆ บรรเทาลงได้ การรักษาด้วยวิธีการปรับภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) มี 2 วิธีหลัก คือ วิธีฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าใต้ผิวหนัง และค่อยๆ เพิ่มปริมาณทีละนิดทุกครั้งที่มาพบแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยสร้างภูมิที่ดีมาต้านปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารนั้นได้ และอีกวิธีเป็นการใช้สารที่ผู้ป่วยแพ้อมใต้ลิ้นทุกวัน ปัจจุบันในประเทศไทยวิธีอมใต้ลิ้น มีใช้เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่แพ้ต่อไรฝุ่น ทั้งนี้ในการรักษาด้วยวิธีปรับภูมิคุ้มกัน (immunotherapy) ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทาง เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการรักษาได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการแพ้ มีผื่น หายใจไม่ออก หรืออาจแพ้รุนแรงได้ โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูกอักเสบ โรคหืด อาจไม่ใช่ภาวะที่ทำให้ต้องมาพบแพทย์ทันที แต่หากปล่อยทิ้งไว้ และยังสัมผัสต่อสารแพ้ต่อเนื่อง อาจทำให้มีผลแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ ไอเรื้อรังจากเสมหะไหลลงคอ มีอาการหอบหืด เกิดเป็นโรคหืดที่คุมอาการไม่ได้จนอาจมีระบบหายใจล้มเหลวได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสารที่ตนแพ้ พบแพทย์ ใช้ยาต่อเนื่อง และหากไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาวิธีรักษาด้วยการปรับภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) ต่อไป

2022-02-14 14:19:04

อ่านเพิ่มเติม