โรคตับแข็ง
Health

โรคตับแข็ง ตับมีหน้าที่ทำลายสารพิษ หรือของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารเพื่อให้เลือดแข็งตัว สร้างน้ำดีเพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง เนื้อตับที่ถูกทำลายจะมีผังผืดแทรกและเบียดเนื้อตับที่ดีทำให้เลือดไปเลี้งที่ตับน้อยลง สาเหตุของโรคตับแข็ง การดื่มสุรา มากกว่า 160 กรัมต่อวัน เทียบเท่ากับ สุราวิสกี้ 480 ซีซีต่อวัน ไวส์ 1,800 ซีซีต่อวัน เบียร์ 4 ลิตร ต่อวัน เป็นเวลา 8-10 ปี ปริมาณของสุราที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง แปรผันตามแต่ละบุคคล เพศไวรัสตับอักเสบ บี,ซีภาวะดีซ่านเรื้อรัง จากท่อน้ำดีอุดตัน เนื่องจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดี หรือเนื้องอกอุดตัน หรือเบียดท่อน้ำดีภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ทำให้เลือดคั่งที่ตีบ เลือดไหลเวียนในตับลดลง เนื้อตับเกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้เซลล์ตับตายโรคตับอักเสบจากภูมิต่อต้านตนเอง เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันมาทำลายตับตนเอง โรคนี้พบน้อยโรคกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น โรควิลสัน มีการสะสมทองแดงในตับ hemochromatosis มีการสะสมเหล็กมากในตับโรคตับอักเสบจากไขมันสะสมที่ตับ พบในโรคไขมันสูง เบาหวาน อ้วน อาการ : ผู้ป่วยตับแข็งในระยะแรกจะไม่มีอาการ เมื่อตับแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดอาการของโรคตับแข็งได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ถ้าอาการโรคเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของโรคแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง เช่น บวม ตาเหลือง ตัวเหลือง สูญเสียความจำ อาเจียนเป็นเลือดจากการแตกของหลอดเลือดดำ ท้องมาน มะเร็งตับ ไตวาย การรักษา เมื่อเกิดโรคตับแข็งขึ้นแล้ว ในขณะนี้ยังไม่มียาใดๆที่สามารถให้ตับกลับมาเป็นปกติได้ นอกจากป้องกันไม่ให้ตับแข็งเป็นมากขึ้น โดยการรักษาสาเหตุ เช่น งดดื่มสุราจากรายที่มีสาเหตุจากสุรา รักษาไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ในรายที่เป็นไวรัสตับอักเสบ บีและซีผู้ป่วยตับแข็งควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรได้อาหารครบถ้วน ควรหลีกเลี่ยงสารพิษต่อตับ เช่น สุรายาที่มีผลเสียต่อตับ เช่น พาราเซตามอลในรายที่มีอาการบวม ขา หรือท้องมานควรลดการรับประทานเกลือ อาหารดองเค็ม น้ำปลา ซีอิ๊ว เพราะจะทำให้บวมมากขึ้น ในรายบวมมาก แพทย์จะสั่งยาขับปัสสาวะ เพื่อลดอาการบวมการผ่าตัดเปลี่ยนตับ เป็นการรักษาที่ดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดที่มีค่าใช้จ่ายสูง และตับที่มีผู้บริจาคมีจำนวนน้อย ผู้ป่วยเปลี่ยนตับทานยากดภูมิคุ้มกันไปตลอด   อ้างอิง : https://www.thonburihospital.com/Cirrhosis.html

2022-02-14 13:59:48

อ่านเพิ่มเติม
โรคลมบ้าหมู (โรคลมชัก)
Health

โรคลมบ้าหมู (โรคลมชัก) เกิดจากความผิดปกติของการนำกระแสไฟฟ้าภายในสมอง มักจะเป็นพักๆ (ช่วงเวลาสั้นๆ) และมีโอกาสเป็นซ้ำสูง ยกเว้นภาวะชักต่อเนื่อง (Status epilepticus) แต่เดิมคนไทยเคยเรียกว่า โรคลมบ้าหมู ปัจจุบันใช้คำว่า โรคลมชัก และในอนาคตมีแนวโน้มจะเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เป็นโรคคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติแทน (Abnormal brain wave) ที่เปลี่ยนชื่อเนื่องจากอาการของโรคลมชักไม่จำเป็นต้องมีอาการชักเกร็งหรือ กระตุกของกล้ามเนื้อ แต่อาการผิดปกติที่พบบ่อยสุด คือ อาการเหม่อลอย อาจมีตาค้างหรือ ตาเหลือก และเรียกไม่รู้สึกตัว ดังนั้น การวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักอาจสร้างความเข้าใจผิด ว่าต้องมีอาการชักเกร็ง กระตุกของร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในแง่การเข้าสังคม รวมถึงการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ป่วย การวินิจฉัยและการสืบค้นในโรคลมชัก (Diagnosis and investigation)                     ผู้ป่วยจะต้องมีการชักโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้นมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป หรือชักครั้งแรกแต่มีโอกาสที่จะชักซ้ำสูง ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการชักครั้งแรก จำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินว่าจะมีโอกาสขักซ้ำมากเท่าใด รวมทั้งหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชัก ซึ่งการประเมินดังกล่าว ต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจวินิจฉัยสมอง (CT or MRI brain) และที่สำคัญที่สุดคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ส่วนการตรวจน้ำไขสันหลัง (CSF analysis) จะทำเฉพาะบางกรณี เช่น สงสัยภาวะติดเชื้อในระบบประสาท การรักษาลมบ้าหมู (โรคลมชัก) ประกอบด้วย การรับประทานยากันชัก (Anti-epileptic drug) และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การอดนอน การออกกำลังกายหักโหม ยาบางชนิด การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด  ภาวะตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จะสามารถหายขาดจากโรคลมชักโดยประมาณ 60-70% ส่วนกลุ่มที่เหลืออีก 30% จะเรียกว่าภาวะที่ดื้อต่อยากันชัก ซึ่งปัจจุบันสามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดรักษาโรคลมชักยังมีอีกหลายวิธี ซึ่งมีความจำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละรายไป จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลโรคลมชักเป็นหลักจะสามารถแนะนำวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยได้ สาเหตุที่พบได้บ่อย (Common etiology) คือแผลเป็น (gliosis) ที่เกิดขึ้นบนผิวสมอง ซึ่งอาจเกิดจากโรคติดเชื้อภายในสมอง ภายหลังอุบัติเหตุทางสมอง ภายหลังจากเลือดออกในสมอง หรือ หลอดเลือดสมองตีบตัน เนื่องอกภายในสมอง ภาวะชักซ้ำๆ หรือ ภาวะชักต่อเนื่อง สามารถพบในสมองเด็กที่กำลังเจริญเติบโตที่เรียกว่ากลุ่มอาการโรคลมชักในเด็ก (Epilepsy syndrome) หรือแม้กระทั่งสมองของผู้สูงอายุที่มีรอยเหี่ยวย่นผิดปกติ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 10-20% ที่ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติใดๆภายในสมอง   อ้างอิง :https://www.thonburihospital.com/โรคลมบ้าหมู_.html

2022-02-14 11:43:43

อ่านเพิ่มเติม
ภูมิคุ้มบำบัดรักษามะเร็ง
Health

ภูมิคุ้มกันบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ตามกลไกการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ดังนี้ โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies) เป็นโปรตีนสังเคราะห์เลียนแบบสารภูมิต้านทานที่เป็นโปรตีนของระบบคุ้มกันของร่างกาย ในการรักษามะเร็ง แอนติบอดีจะได้รับการพัฒนาให้มีความจำเพาะและออกฤทธิ์ต่อมะเร็งชนิดนั้นๆ ยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune Checkpoint Inhibitors) มีกลไกทำงานโดยยับยั้งระบบควบคุมและสั่งการให้มีการทำลายเซลล์แปลกปลอมหรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย (Immune Checkpoint) เพราะบางกรณีเซลล์มะเร็งจะอาศัยระบบนี้ในการ “ซ่อนตัว” จากการถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยากลุ่มนี้จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตรวจจับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น วัคซีนโรคมะเร็ง (Cancer Vaccines) วัคซีนโรคมะเร็งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้โดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง หรือปกป้องร่างกายให้ปลอดจากมะเร็งได้ อาทิ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบไม่จำเพาะ (Non-specific Immunotherapies) ภูมิคุ้มกันบำบัดประเภทนี้ไม่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อมะเร็งโดยตรง แต่เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยทั่วไป เพื่อให้ตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2022-02-11 16:46:14

อ่านเพิ่มเติม
อาการของ โอมิครอน
Health

สายพันธุ์โอมิครอน แพร่เชื้อง่ายไวกว่าเดลต้า เคยติดเชื้อแล้ว ติดซ้ำได้! โควิดสายพันธุ์โอมิครอน #Omicron แพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า หลบภูมิคุ้มกันเก่ง แม้ว่าจะเคยติดโควิดมาก่อนแล้ว ก็สามารถติดสายพันธุ์นี้ซ้ำได้ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน อันตราย! ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อาการส่วนใหญ่ที่พบในผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน 54% ไอ 37% เจ็บคอ 29% ไข้ 15% ปวดกล้ามเนื้อ 12% มีน้ำมูก 10% ปวดศีรษะ 5% หายใจลำบาก 2% ได้กลิ่นลดลง (ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2564) แนวทางการป้องกันโควิดกลายพันธุ์ ป้องกันตนเองอยู่เสมอ อย่าลืม! สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1.5 เมตร จะช่วยป้องกันเราจากโควิดโอมิครอนนี้ได้

2022-02-11 16:05:00

อ่านเพิ่มเติม
หน้ากากอนามัย n95 ใช้ซ้ำได้หรือไม่!!!
Health

หน้ากาก N95 ใช้ซ้ำได้หรือไม่? หน้ากาก N95 แบบใช้แล้วทิ้ง สามารถใช้ซ้ำได้ 2-3 วัน หรืออาจจะเร็วกว่านั้นหากเริ่มรู้สึกหายใจลำบากากขึ้น หรือหายใจแล้วได้กลิ่นแปลกๆ หรือรู้สึกเหมือนมีฝุ่นอยู่ในหน้ากากทั้งๆ ที่หน้ากากแนบสนิทกับใบหน้าดีแล้ว รวมถึงหากใส่แล้วรู้สึกหน้ากากไม่กระชับกับใบหน้าดังเดิม หรือพบรอยฉีกขาดและพบรอยเปื้อนจากสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น ส่วนหน้ากากที่เป็นแบบซักได้ ก็ควรซักหน้ากากทุกวัน หรือทุกๆ 1-2 วัน และเปลี่ยนไส้กรองทุกๆ 2-3 วัน หรือเร็วกว่านั้นหากสวมใส่หน้ากากแล้วหายใจไม่สะดวก หรือได้กลิ่นเหมือนฝุ่นภายใต้หน้ากาก เกร็ดความรู้ : หน้ากาก N95 สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่าได้ถึง 0.3 ไมครอน แต่ไม่สามารถป้องกันกลิ่นได้ หากใช้แล้วยังได้รับกลิ่นรอบตัวอยู่ เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นน้ำหอม และกลิ่นอื่นๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่าต้องรีบเปลี่ยนหน้ากาก

2022-02-11 15:57:21

อ่านเพิ่มเติม