ยูเครนมีห้องแล็ปผลิตเชื้อโรค จริงดิ?!

ยูเครนมีห้องแล็ปผลิตเชื้อโรค จริงดิ?!

        เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวออกว่อนอินเตอร์เน๊ตว่า ยูเครนได้เพาะเชื้อโรคและมีห้องเเล็ป ชาวเน็ตต่างบอกกันเสียงแตกว่า ไม่มีจริงหรอก ฝ่ายตรงข้ามใส่ร้ายบ้างละ บางบอกมีจริง จนไม่นานมานี้ องกรค์ WHO ได้ออกมาแถลงแล้วว่า “มีอยู่จริง”

โอ้ว >< น้องเมดิคนี้เครียดละคับ :(

แต่อย่าพึ่งกังวลกันไป น้องเมดิคหาข่าวมาได้ว่า….

"อาจเป็นเพราะ การเคลื่อนกำลังทหารของรัสเซียเข้าสู่ยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ และการระเบิดถล่มเมืองต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงที่เชื้อโรคที่ก่อโรคติดต่อ จะหลุดออกจากห้องแล็บ หากสถานที่เหล่านั้นได้รับความเสียหายเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ยูเครนมีห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุขที่ทำการวิจัยหาวิธีบรรเทาภัยคุกคามของโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ รวมถึงโควิด-19 โดยห้องปฏิบัติการของยูเครนได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ สหภาพยุโรป และ WHO"

         แต่ทั่งนี้ WHO ได้มีการเรียกร้องให้ยูเครนทำลายเชื้อโรคเพื่อไม่ให้มีการรั่วไหลออกมา และมีการชับอย่างหนักแน่นว่าห้ามใช้ในการสงครามหรือใดๆ ทั่งนี้ยูเครนยังไม่มีการยอมรับใดๆทั่งสิ้น

 

น้องเมดิคภาวนาให้เชื้อโรคนี้ไม่มีการรั่วไหลออกมานะครับ เพราะอาจจะร้ายแรงกว่าโควิด ซึ่งโควิดตอนนี้ก็ย่ำแย่มาก

ข่าวสารแนะนำ
...
โรคแพ้ภูมิตัวเอง

โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE (Systemic Lupus Erythematosus) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยภูมิคุ้มกันของคน ๆ นั้นทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเองจนเกิดการอักเสบและสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะได้ทั่วร่างกาย พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วมอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคได้ เช่น กรรมพันธุ์ (อาจจะมีสารพันธุกรรมบางชนิดที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง) ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบมากขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อภายในร่างกาย แสงแดด เป็นต้น อาการบอกโรค ปวดข้อ&nbsp;เป็นไข้ตั้งแต่ไข้ต่ำ ๆ จนถึงไข้สูง&nbsp;อ่อนเพลีย&nbsp;เบื่ออาหาร&nbsp;เกิดผื่นผิวหนังตามใบหน้า แขน ขา ที่อยู่บริเวณนอกเสื้อผ้า&nbsp;ผมร่วง&nbsp;มีสภาวะเลือดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ถ้าโรครุนแรงอาจมีเม็ดเลือดแดงแตก ปอดอักเสบ ไตอักเสบ การตรวจวินิจฉัยโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ที่ทำการรักษาเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกายพบรอยโรคร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ การตรวจเอกซเรย์หัวใจและปอด ฯลฯ รักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะการรักษาที่สม่ำเสมอช่วยทำให้โรคสงบได้ โดยแพทย์จะเริ่มทำการรักษาจากการประเมินความรุนแรงของอาการที่ผู้ป่วยเป็นว่ามากน้อยแค่ไหน เพราะแต่ละคนอาการจะมีความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน หลังจากนั้นจึงวางแผนการรักษาและการให้ยา ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก เกิดการอักเสบของร่างกายในหลายระบบ แพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิเพื่อคุมโรค ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) คือ &nbsp;นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ&nbsp;หลีกเลี่ยงการออกแดด&nbsp;ลดและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อด้วยการทานอาหารที่สะอาด&nbsp;รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลดหรือเพิ่มยาเอง&nbsp;มาตรวจหรือพบแพทย์ตามนัดอย่าให้ขาด เพราะการพบแพทย์และได้รับรักษาอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

2022-02-11 14:23:23

...
โรคแพนิค

&ldquo;โรคแพนิค&rdquo; อาการเป็นอย่างไร? ใจสั่น แน่นหน้าอกหัวใจเต้นแรง&nbsp;หายใจหอบ หายใจถี่เหงื่อออมากเหงื่อแตกตัวสั่นปั่นป่วนในท้องวิงเวียน คล้ายจะเป็นลมหวาดกลัว รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง&nbsp;มือสั่นเท้าสั่น&nbsp;ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคแพนิค&nbsp;อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า &ldquo;อะมิกดาลา&rdquo; (Amygdala) ทำงานผิดปกติกรรมพันธุ์ คนที่มีญาติหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าคนทั่วไปการใช้สารเสพติด&nbsp;ความผิดปกติของฮอร์โมน อาจทำให้สารเตมีในสมองเสียสมดุลได้มีประสบการณ์ เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต &nbsp;พฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น ทำงานกับคอมพิวเตอร์และมือถือนานๆ เผชิญความกดดัน อยู่ในสภาวะที่เร่งรีบ เครียดวิตกกังวล ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย &nbsp;เครียดสะสม เกิดจากการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง เคร่งเครียด อยู่ในสภาวะกดดันเป็นประจำ หากเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) ต้องรักษาอย่างไร ?โรคแพนิค (Panic disorder) ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หรือทำให้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความกังวลกับผู้ที่เป็น และต้องรักษาหากกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยปกติ ซึ่งการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การรักษาด้วยยาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคแพนิค ดังนั้นการรับประทานยา เพื่อไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงมีความจำเป็น และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8-12 เดือน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคของแต่ละบุคคล การรักษาทางใจคือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลายวิธี เช่นฝึกหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจเข้า &ndash; ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง&nbsp;รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ตั้งสติ บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว สามารถหายได้และไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต&nbsp;การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ&nbsp;การฝึกสมาธิ &nbsp;&nbsp;การฝึกคิดในทางบวก

2022-02-11 11:52:08

...
โรค ‘’อุจจาระอุดตัน’’

&ldquo;ขี้เต็มท้อง&rdquo; หรือ &ldquo;ภาวะอุจจาระอุดตัน&rdquo; เป็นภาวะอุจจาระอุดตัน คือ ภาวะที่อุจจาระแห้งและอุดตันบริเวณลำไส้ตรง จนไม่สามารถผ่านออกมาได้จนเกิดจากการที่มีปัญหาท้องผูกรุนแรง หรือ ท้องผูกเป็นเวลานาน&nbsp; สาเหตุที่เกิดภาวะอุจจาระอุดตัน 1. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ มีส่วนทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง 2. รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อยเกินไป เช่น ผู้ที่ไม่รับประทานผักผลไม้ 3. ไม่ค่อยออกกำลังกาย ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่าย 4. กลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ไม่ขับถ่ายเป็นเวลา&nbsp; 5. มีอาการท้องผูกบ่อยๆ&nbsp; 6. มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ทำให้ไม่สามารถขยับร่างกายได้มากเท่าคนปกติ 7. มีความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง 8. รับประทานยาที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นระยะเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NARCOTICS, ยาลดกรด, ยากลุ่มธาตุเหล็กหรืออยากลุ่ม CALCIUM CHANNEL BLOCKERS ซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง 9. มีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น ไทรอยด์ หรือ โรคซึมเศร้า ที่อาจส่งผลจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตการทานอาหาร เป็นต้น &ldquo;โรคขี้เต็มท้อง&rdquo; ซึ่งเป็นผลมาจากการชอบอั้นอุจจาระของเธอ ด้วยวิถีชีวิตในการเดินทางไปทำงานที่ต้องอยู่บนท้องถนน ติดประชุม และอื่นๆ จากปกติที่เป็นคนสุขภาพดี ระบบขับถ่ายไม่มีปัญหา ก็มีอาการดังนี้ 1. เวียนหัวคลื่นไส้ ตลอดเวลา แบบต้องหาอะไรพิงหัวตลอด2. หายใจติดขัด เหมือนแน่นท้อง หายใจได้ครึ่งเดียว รู้สึกต้องหายใจลึกๆ ตลอดเวลา3. กินข้าวได้น้อยมาก ไม่อยากกินอะไร หรือกินไปได้นิดเดียวก็แน่นท้อง4. เรอเปรี้ยว และตดเปรี้ยว ตลอดทั้งวัน เหมือนมีรถสูบส้วมเคลื่อนที่ตลอดเวลา ขมคอทั้งวัน5. ลมในท้องเยอะ แน่นท้อง แสบท้องเบาๆ อาการคล้ายๆ โรคกระเพาะ6. ปวดตัว ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ การรักษาการรักษานั้นขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งมีการรักษาหลากหลายวิธี เช่น การสวนทวารหนัก เหน็บยา หรือ ให้ยาต่าง ๆ หากมีอาการหนักอาจจะมีการผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระออกมาจากลำไส้ ซึ่งการผ่าตัดยังพบได้น้อยมาก วิธีป้องกัน &ldquo;ภาวะอุจจาระอุดตัน&rdquo; หลัก ๆ เลยต้องปรับพฤติกรรม ดังนี้&nbsp; 1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง&nbsp;2. รับประทานผักผลไม้และอาหารที่มีกากใย และลดการรับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน3. ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา4. อย่ากลั้นอุจจาระ ให้รีบหาที่ขับถ่ายทันทีเมื่อปวด5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

2022-02-11 11:18:46

...
โรค เมลิออยโดลิส คืออะไร!

Melioidosis โรคเมลิออยด์ หรือเมลิออยโดสิส เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ปนเปื้อนได้ในน้ำและดิน แพร่กระจายสู่คนผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือโดยการติดต่อจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น สุนัข แมว หมู ม้า วัว ควาย แกะ แพะ เป็นต้น พบอัตราการป่วยมากที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยในประเทศไทยจะพบมากในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นโรคที่มีอัตราการป่วยตายสูง อาการของโรคเมลิออยด์ โรคเมลิออยด์เกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะและมักแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอวัยวะภายในร่างกายที่มีการติดเชื้อ ดังนี้ 1.การติดเชื้อที่ปอด เกิดจากการสูดดมเชื้อเข้าไป ซึ่งเป็นรูปแบบการติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคนี้ โดยการติดเชื้อที่ปอดนั้นอาจจะทำให้เกิดการอักเสบและทำให้มีฝีหนองในปอดตามมาอาการที่ปรากฏ&nbsp; 2. การติดเชื้อเฉพาะที่เฉียบพลัน เป็นการติดเชื้อเฉพาะตำแหน่งที่สัมผัสเชื้อโรค หากเป็นที่ผิวหนังจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการเจ็บ บวม มีแผลเปื่อยสีออกขาวเทา และอาจเกิดเป็นหนอง รวมถึงส่งผลให้มีอาการไข้และเจ็บกล้ามเนื้อตามมา แต่หากติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำลายจะอักเสบบวม โต เจ็บ อาจเกิดหนอง หรือหากเชื้อเข้าตาจะส่งผลให้เยื่อตาอักเสบ&nbsp; 3. การติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยด้วยโรคที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเมลิออยด์ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อลักษณะนี้มากที่สุด มักทำให้เกิดอาการช็อก และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง 4. เชื้อกระจายทั่วร่างกาย เชื้อเมลิออยด์สามารถแพร่กระจายจากผิวหนังผ่านเลือดไปสู่อวัยวะอื่น ๆ จนกลายเป็นการติดเชื้อเรื้อรังที่อาจส่งผลต่อหัวใจ สมอง ตับ ไต ม้าม ต่อมลูกหมาก ข้อต่อ ต่อมน้ำเหลือง กระดูก และดวงตา ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือเรื้อรังก็ได้ สาเหตุของโรคเมลิออยด์ การติดเชื้อโรคเมลิออยด์มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Burkholderia Pseudomallei ซึ่งพบได้ในน้ำ ดิน หรือตามพืชพันธ์ุต่าง ๆ แบคทีเรียชนิดนี้อาจติดต่อสู่มนุษย์โดยตรงผ่านการสัมผัสหรือแพร่ผ่านสัตว์เลี้ยงทีมีเชื้อนี้อยู่ในร่างกายอย่างแมว สุนัข หมู ม้า วัว ควาย แกะ หรือแพะก็ได้ โดยเฉพาะการสัมผัสกับเชื้อบริเวณผิวหนังที่มีแผลเปิดนั้นเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูง การรักษาโรคเมลิออยด์ โรคเมลิออยด์รักษาได้ด้วยการใช้ยาที่เหมาะสมกับตำแหน่งของการติดเชื้อและโรคประจำตัวของผู้ป่วย ซึ่งผลการรักษาระยะยาวจะขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อและการรักษาที่เลือกใช้ โดยทั่วไปมักเริ่มรักษาด้วยการฉีดยาต้านจุลชีพเข้าเส้นเลือดนาน 10-14 วัน ตามด้วยการให้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานต่อเนื่องนาน 3-6 เดือน สำหรับยาฉีดเข้าเส้นเลือดอาจให้เซฟตาซิดิม (Ceftazidime) ทุก 6-8 ชั่วโมง หรือให้เมอโรเพเนม (Meropenem) ทุก 8 ชั่วโมง ส่วนยาชนิดรับประทานนั้นอาจใช้ไตรเมโทพริม ซัลฟาเมธอกซาโซล (Trimethoprim-Sulfamethoxazole) หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) โดยรับประทานทุก 12 ชั่วโมง ทั้งนี้การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพนั้นขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา&nbsp;นอกจากการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพแล้ว ยังต้องประคับประคองรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้ การให้ยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด การให้ออกซิเจนช่วยหายใจ การใส่ท่อช่วยหายใจเมื่อมีปัญหาการหายใจ และการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อกินได้น้อย หรือในบางรายอาจต้องผ่าตัด เช่น การผ่าตัดระบายหนองในข้อ หนองในปอด หรือหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น&nbsp;ทั้งนี้โรคเมลิออยด์ที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ และเมื่อรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ชนิดรุนแรงที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจะมีอัตราความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ การป้องกันโรคเมลิออยด์ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคเมลิออยด์ การควบคุมป้องกันโรคนี้จึงทำได้ยาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อผ่านการสัมผัสดินและน้ำขณะทำงาน รวมถึงผู้ป่วยโรคที่มีความเสี่ยงทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม การลดความเสี่ยงในการเผชิญกับเชื้อโรคดังกล่าว ทำได้ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทางร่างกายบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง หรือต้องรับการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง หรือผู้ที่มีแผลเปิดบนผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียเจือปน โดยเฉพาะบริเวณที่มีฟาร์มปศุสัตว์ ผู้ที่ทำการเกษตรควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการที่เท้าและขาสัมผัสกับดิน ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม ได้แก่ หน้ากากอนามัย ถุงมือ และเสื้อคลุม

2022-02-11 09:19:05