อาการ CULTURE SHOCK

อาการ CULTURE SHOCK

เป็นอาการที่เกิดจาก การที่ต้องไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศหรือต่างถิ่นจึงมีอาการculture shock ความอึดอับกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมนั้นเรียกว่าอาการ  Culture Shock ซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่อสภาพจิตใจของนักเรียน วันนี้เราจะมาแนะนำถึงอาการ Culture Shock กันค่ะ

Culture Shock นั้นเป็นเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่าเราไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกับทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว ยิ่งเมื่อเริ่มการใช้ชีวิตในต่างประเทศแล้ว ทั้งวัฒนธรรม สิ่งที่เราเคยทำเป็นประจำในทุกๆวัน ทัศนคติของคนรอบๆตัว ต่างก็กลายเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยไปเสียดื้อๆ และในระหว่างที่นักเรียนกำลังอยู่ในขั้นตอนของการรับรู้ความเปลี่ยนแปลงและจัดการทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงนั้นคืออาการ Culture Shock นั่นเองค่ะ

 Culture Shock มีลำดับขั้นตอนดังนี้

The Honeymoon Stage

ทันทีที่มาถึงสถานที่ใหม่ๆ เป็นเรื่องปกติที่เราจะรู้สึกตื่นเต้นและเริ่มที่จะซึมซับแต่สิ่งที่ดีและสวยงามของประเทศนั้นๆ ในช่วงนี้เราจะเห็นทุกอย่างเป็นสิ่งดีไปเสียหมดและระดับการเปิดรับวัฒนธรรมใหม่นั้นสูงมาก

The Negotiation Stage

เมื่อถึงเวลาการมองโลกแบบขั้นที่หนึ่งนั้นจะหายไปเองเมื่อเราเริ่มมองโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น นักเรียนอาจเริ่มรู้สึกเคว้นคว้าง หรือรู้สึกหงุดหงิดกับวัฒนธรรมที่แตกต่างและรู้สึกว่าชีวิตตัวเองไม่มีระเบียบมากนักภายใต้สังคมใหม่ 

The Adjustment Stage

เป็นช่วงที่เราเริ่มรู้สึกผ่อนคลายลงจากการปรับตัว ความรู้สึกแปลกถิ่นเริ่มจางหายไปและสถานที่ใหม่เริ่มกลายเป็นบ้านมากขึ้น นักเรียนจะรู้สึกว่าอารมณ์คงที่มากขึ้น 

The Mastery Stage

เป็นขั้นสุดท้ายของอาการ Culture Shock ซึ่งคือเมื่อเราสามารถรู้สึกสบายดีได้ในที่สุด ซึ่งเป็นขั้นที่เรารู้สึกว่าทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล เราสามารถพูดคุยกับคนแปลกหน้าในสังคมใหม่ได้อย่างไม่เคอะเขินหรือกลัว และรู้สึกคุ้นชินกับกิจวัตรประจำวันแบบใหม่ได้ในที่สุด แน่นอนว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่จะคิดถึงเพื่อนๆและครอบครัว แต่ในที่สุดแล้วเพื่อนและกิจกรรมใหม่ๆก็จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา

อาการ Culture Shock ส่งผลกระทบต่างออกไปในแต่ละคนโดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต บางคนอาจพบว่าอาการนี้ไม่ส่งผลอะไรเลยในขณะที่บางคนอาจพบว่าอาการนี้ยากเกินกว่าจะรับมือได้ อย่างไรก็ตาม Culture Shock เป็นอาการที่รับมือได้ง่าย ดังนั้นผู้ที่สนใจจะไปเรียนต่อต่างประเทศจึงไม่ควรปล่อยให้ความกลัวเป็นตัวขัดขวางโอกาสในการศึกษาต่อในต่างประเทศ

ข่าวสารแนะนำ
...
โรคตาบอดสี

ตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) เป็นภาวะการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจนหรือผิดเพี้ยนไปจากผู้ที่มีสายตาผิดปกติ โดยมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การมองเห็นสีของดวงตาจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว  ส่วนอีกชนิด คือ เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) ที่มีความไวในการรับแสงที่สว่างกว่าเซลล์รูปแท่ง และสามารถแยกแสงสีต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยเซลล์รูปกรวยนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ เซลล์รูปกรวยชนิดที่ไวต่อแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์รูปกรวยครบทั้ง 3 ชนิดที่ไวต่อแสง แต่ละสีก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองในการแยกสี และการผสมของแสงสีต่าง ๆ จากเซลล์นี้ จึงทำให้คนปกติสามารถมองเห็นสีได้หลายโทนสี   อาการของตาบอดสี ภาวะตาบอดสีในแต่ละบุคคลอาจมีอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของตาบอดสีที่เป็น แต่อาจจะสังเกตได้จากสัญญาณเตือนเหล่านี้ จดจำและแยกสีต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในการบอกสีที่เห็น เช่น แยกความต่างของสีเขียวและแดงไม่ได้ แต่สามารถแยกสีน้ำเงินและเหลืองได้ง่าย สามารถมองเห็นสีได้หลากหลายสี แต่บางสีอาจมองเห็นต่างไปจากคนอื่น มองเห็นเฉพาะบางโทนสีเท่านั้น ซึ่งต่างจากคนปกติที่จะสามารถมองเห็นสีได้มากกว่าร้อยสีในบางรายสามารถมองเห็นได้เฉพาะสีดำ ขาว และเทา แต่แทบไม่พบตาบอดสีประเภทนี้ สาเหตุของตาบอดสี ตาบอดสีเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ กรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุหลักของตาบอดสีได้มากที่สุด หากบุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีจะส่งต่อพันธุกรรมไปยังรุ่นต่อไปโดยการถ่ายทอดผ่านยีนด้อยบนโครโมโซมเพศชนิดเอ็กซ์ สาเหตุอื่น ในบางราย ตาบอดสีอาจเกิดได้จากสภาวะบางอย่างของร่างกาย เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ได้ตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น โรคเกี่ยวกับด้านดวงตาหรือการบาดเจ็บบริเวณจอตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา โรคอื่น ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคเบาหวาน หรือโรคพาร์กินสัน ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด   การได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์หรือสไตรีน อาจส่งผลต่อการสูญเสียการมองเห็นสี การรักษาตาบอดสี ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์หรือจักษุแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นตาบอดสีที่มีสาเหตุมาจากสภาวะหรือโรคประจำตัวอื่น ๆ อย่างโรคเบาหวานตา แพทย์จะรักษาจากสาเหตุหลักของโรค เพื่อช่วยให้อาการโดยรวมดีขึ้นและบรรเทาอาการแทรกซ้อนทางสายตาให้ดีขึ้นด้วย การป้องกันตาบอดสี ตาบอดสียังไม่สามารถป้องกันการเกิดได้อย่างเต็มที่ แต่สามารถเลี่ยงหรือลดโอกาสการเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยควรมีการตรวจคัดกรองตาบอดสีและทดสอบสายตาในเด็กอายุประมาณ 3-5 ขวบ หรือเด็กควรได้รับการตรวจสายตาอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนเข้าโรงเรียน แต่หากเป็นบุคคลที่มีคนในครอบครัวเป็นตาบอดสี ควรมีการตรวจเช็คสายตาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ผู้ที่ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นตาบอดสี ควรสังเกตความผิดปกติของสายตาตนเองเช่นกัน เนื่องจากตาบอดสีเกิดได้จากสาเหตุอื่น เมื่อสงสัยว่ามีปัญหาทางด้านสายตาหรือการมองเห็นสีที่ผิดปกติไป ควรรีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์ เพื่อค้นหาต้นเหตุความผิดปกติและได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี   อ้างอิง :https://www.pobpad.com/ตาบอดสี  

2022-02-15 09:13:27

...
โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ เกิดจากอะไร?โรคภูมิแพ้ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เมื่อได้รับ “สารก่อภูมิแพ้” เข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการปฏิกิริยาที่ผิดปกติ สารก่อภูมิแพ้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง อาทิ ทางเดินหายใจ การกินอาหาร การสัมผัส ซึ่งโรคภูมิแพ้สามารถเกิดได้ใน 2 สาเหตุหลัก คือ กรรมพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยการเกิดจากกรรมพันธุ์ มีความเป็นไปได้ว่าหากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นก็มีสูงมากถึง 60% อาการของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนใหญ่แล้วโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจประกอบด้วยการแพ้ที่แสดงออกทางจมูก ช่องคอ หลอดลม โดยอาจมีอาการคันตา เคืองตา หรือมีน้ำตาไหลร่วมด้วย ซึ่งภูมิแพ้ทางเดินหายจะเกิดได้ใน 2 ส่วนหลัก คือ ทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณโพรงจมูก อาการส่วนใหญ่ที่พบคือ ไอ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก หูอื้อ หายใจไม่สะดวกเพราะเนื้อเยื่อในจมูกบวมขึ้นทางเดินหายใจส่วนล่างบริเวณหลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจเสียงหวีด ไอเรื้อรัง เหนื่อยง่าย หรือเป็นโรคหืด ที่คนส่วนมากชอบเรียกว่าโรคหอบหืด ภูมิแพ้ทางเดินหายใจรักษาหายไหมหัวใจสำคัญของการรักษาโรคภูมิแพ้คือต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายต่อสู้กับสารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงมลพิษเช่น pm2.5 ร่วมกับการพบแพทย์ ติดตามอาการ อาจมีการใช้ยาพ่นจมูก ใช้น้ำเกลือล้างจมูก รวมถึงรับประทานยาแก้แพ้เพิ่มเวลามีอาการ ช่วยให้อาการต่างๆ บรรเทาลงได้ การรักษาด้วยวิธีการปรับภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) มี 2 วิธีหลัก คือ วิธีฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าใต้ผิวหนัง และค่อยๆ เพิ่มปริมาณทีละนิดทุกครั้งที่มาพบแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยสร้างภูมิที่ดีมาต้านปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารนั้นได้ และอีกวิธีเป็นการใช้สารที่ผู้ป่วยแพ้อมใต้ลิ้นทุกวัน ปัจจุบันในประเทศไทยวิธีอมใต้ลิ้น มีใช้เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่แพ้ต่อไรฝุ่น ทั้งนี้ในการรักษาด้วยวิธีปรับภูมิคุ้มกัน (immunotherapy) ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทาง เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการรักษาได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการแพ้ มีผื่น หายใจไม่ออก หรืออาจแพ้รุนแรงได้ โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูกอักเสบ โรคหืด อาจไม่ใช่ภาวะที่ทำให้ต้องมาพบแพทย์ทันที แต่หากปล่อยทิ้งไว้ และยังสัมผัสต่อสารแพ้ต่อเนื่อง อาจทำให้มีผลแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ ไอเรื้อรังจากเสมหะไหลลงคอ มีอาการหอบหืด เกิดเป็นโรคหืดที่คุมอาการไม่ได้จนอาจมีระบบหายใจล้มเหลวได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสารที่ตนแพ้ พบแพทย์ ใช้ยาต่อเนื่อง และหากไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาวิธีรักษาด้วยการปรับภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) ต่อไป

2022-02-14 14:19:04

...
โรคตับแข็ง

โรคตับแข็ง ตับมีหน้าที่ทำลายสารพิษ หรือของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารเพื่อให้เลือดแข็งตัว สร้างน้ำดีเพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง เนื้อตับที่ถูกทำลายจะมีผังผืดแทรกและเบียดเนื้อตับที่ดีทำให้เลือดไปเลี้งที่ตับน้อยลง สาเหตุของโรคตับแข็ง การดื่มสุรา มากกว่า 160 กรัมต่อวัน เทียบเท่ากับ สุราวิสกี้ 480 ซีซีต่อวัน ไวส์ 1,800 ซีซีต่อวัน เบียร์ 4 ลิตร ต่อวัน เป็นเวลา 8-10 ปี ปริมาณของสุราที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง แปรผันตามแต่ละบุคคล เพศไวรัสตับอักเสบ บี,ซีภาวะดีซ่านเรื้อรัง จากท่อน้ำดีอุดตัน เนื่องจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดี หรือเนื้องอกอุดตัน หรือเบียดท่อน้ำดีภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ทำให้เลือดคั่งที่ตีบ เลือดไหลเวียนในตับลดลง เนื้อตับเกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้เซลล์ตับตายโรคตับอักเสบจากภูมิต่อต้านตนเอง เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันมาทำลายตับตนเอง โรคนี้พบน้อยโรคกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น โรควิลสัน มีการสะสมทองแดงในตับ hemochromatosis มีการสะสมเหล็กมากในตับโรคตับอักเสบจากไขมันสะสมที่ตับ พบในโรคไขมันสูง เบาหวาน อ้วน อาการ : ผู้ป่วยตับแข็งในระยะแรกจะไม่มีอาการ เมื่อตับแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดอาการของโรคตับแข็งได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ถ้าอาการโรคเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของโรคแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง เช่น บวม ตาเหลือง ตัวเหลือง สูญเสียความจำ อาเจียนเป็นเลือดจากการแตกของหลอดเลือดดำ ท้องมาน มะเร็งตับ ไตวาย การรักษา เมื่อเกิดโรคตับแข็งขึ้นแล้ว ในขณะนี้ยังไม่มียาใดๆที่สามารถให้ตับกลับมาเป็นปกติได้ นอกจากป้องกันไม่ให้ตับแข็งเป็นมากขึ้น โดยการรักษาสาเหตุ เช่น งดดื่มสุราจากรายที่มีสาเหตุจากสุรา รักษาไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ในรายที่เป็นไวรัสตับอักเสบ บีและซีผู้ป่วยตับแข็งควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรได้อาหารครบถ้วน ควรหลีกเลี่ยงสารพิษต่อตับ เช่น สุรายาที่มีผลเสียต่อตับ เช่น พาราเซตามอลในรายที่มีอาการบวม ขา หรือท้องมานควรลดการรับประทานเกลือ อาหารดองเค็ม น้ำปลา ซีอิ๊ว เพราะจะทำให้บวมมากขึ้น ในรายบวมมาก แพทย์จะสั่งยาขับปัสสาวะ เพื่อลดอาการบวมการผ่าตัดเปลี่ยนตับ เป็นการรักษาที่ดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดที่มีค่าใช้จ่ายสูง และตับที่มีผู้บริจาคมีจำนวนน้อย ผู้ป่วยเปลี่ยนตับทานยากดภูมิคุ้มกันไปตลอด   อ้างอิง : https://www.thonburihospital.com/Cirrhosis.html

2022-02-14 13:59:48

...
โรคลมบ้าหมู (โรคลมชัก)

โรคลมบ้าหมู (โรคลมชัก) เกิดจากความผิดปกติของการนำกระแสไฟฟ้าภายในสมอง มักจะเป็นพักๆ (ช่วงเวลาสั้นๆ) และมีโอกาสเป็นซ้ำสูง ยกเว้นภาวะชักต่อเนื่อง (Status epilepticus) แต่เดิมคนไทยเคยเรียกว่า โรคลมบ้าหมู ปัจจุบันใช้คำว่า โรคลมชัก และในอนาคตมีแนวโน้มจะเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เป็นโรคคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติแทน (Abnormal brain wave) ที่เปลี่ยนชื่อเนื่องจากอาการของโรคลมชักไม่จำเป็นต้องมีอาการชักเกร็งหรือ กระตุกของกล้ามเนื้อ แต่อาการผิดปกติที่พบบ่อยสุด คือ อาการเหม่อลอย อาจมีตาค้างหรือ ตาเหลือก และเรียกไม่รู้สึกตัว ดังนั้น การวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักอาจสร้างความเข้าใจผิด ว่าต้องมีอาการชักเกร็ง กระตุกของร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในแง่การเข้าสังคม รวมถึงการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ป่วย การวินิจฉัยและการสืบค้นในโรคลมชัก (Diagnosis and investigation)                     ผู้ป่วยจะต้องมีการชักโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้นมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป หรือชักครั้งแรกแต่มีโอกาสที่จะชักซ้ำสูง ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการชักครั้งแรก จำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินว่าจะมีโอกาสขักซ้ำมากเท่าใด รวมทั้งหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชัก ซึ่งการประเมินดังกล่าว ต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจวินิจฉัยสมอง (CT or MRI brain) และที่สำคัญที่สุดคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ส่วนการตรวจน้ำไขสันหลัง (CSF analysis) จะทำเฉพาะบางกรณี เช่น สงสัยภาวะติดเชื้อในระบบประสาท การรักษาลมบ้าหมู (โรคลมชัก) ประกอบด้วย การรับประทานยากันชัก (Anti-epileptic drug) และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การอดนอน การออกกำลังกายหักโหม ยาบางชนิด การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด  ภาวะตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จะสามารถหายขาดจากโรคลมชักโดยประมาณ 60-70% ส่วนกลุ่มที่เหลืออีก 30% จะเรียกว่าภาวะที่ดื้อต่อยากันชัก ซึ่งปัจจุบันสามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดรักษาโรคลมชักยังมีอีกหลายวิธี ซึ่งมีความจำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละรายไป จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลโรคลมชักเป็นหลักจะสามารถแนะนำวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยได้ สาเหตุที่พบได้บ่อย (Common etiology) คือแผลเป็น (gliosis) ที่เกิดขึ้นบนผิวสมอง ซึ่งอาจเกิดจากโรคติดเชื้อภายในสมอง ภายหลังอุบัติเหตุทางสมอง ภายหลังจากเลือดออกในสมอง หรือ หลอดเลือดสมองตีบตัน เนื่องอกภายในสมอง ภาวะชักซ้ำๆ หรือ ภาวะชักต่อเนื่อง สามารถพบในสมองเด็กที่กำลังเจริญเติบโตที่เรียกว่ากลุ่มอาการโรคลมชักในเด็ก (Epilepsy syndrome) หรือแม้กระทั่งสมองของผู้สูงอายุที่มีรอยเหี่ยวย่นผิดปกติ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 10-20% ที่ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติใดๆภายในสมอง   อ้างอิง :https://www.thonburihospital.com/โรคลมบ้าหมู_.html

2022-02-14 11:43:43