การปวดท้องประจำเดือนของผู้หญิง

การปวดท้องประจำเดือนของผู้หญิง

อาการปวดท้องประจำเดือนมักจะเกิดกับผู้หญิง มีอาการก่อนประจำเดือนมา1-2 วัน หรือปวดวันที่ประจำเดือนมาวันแรก และระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรกๆ อาการปวดประจำเดือนมีตั้งแต่อาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อย และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสียหรือท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและปวดศีรษะ เป็นต้น

อาการปวดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน

  1. ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุมักเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป
  2. ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ 

หากมีอาการปวดประจำเดือน ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดย

  1. ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและหลัง
  2. อาบน้ำอุ่น
  3. ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือนั่งสมาธิ
  4. รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรรับประทานเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนมีอาการปวด การรับประทานยาแก้ปวดอาจมีผลข้างเคียง ดังนั้นควรใช้เมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  7. รับประทานผักและผลไม้ จากการศึกษาพบว่าทานอาหารที่มี Vitamin E, Omega-3 Fatty Acids, Vitamin B1, Vitamin B6 และ Magnesium ช่วยลดการปวดประจำเดือนได้

ข่าวสารแนะนำ
...
ภูมิคุ้มบำบัดรักษามะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ตามกลไกการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ดังนี้ โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies) เป็นโปรตีนสังเคราะห์เลียนแบบสารภูมิต้านทานที่เป็นโปรตีนของระบบคุ้มกันของร่างกาย ในการรักษามะเร็ง แอนติบอดีจะได้รับการพัฒนาให้มีความจำเพาะและออกฤทธิ์ต่อมะเร็งชนิดนั้นๆ ยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune Checkpoint Inhibitors) มีกลไกทำงานโดยยับยั้งระบบควบคุมและสั่งการให้มีการทำลายเซลล์แปลกปลอมหรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย (Immune Checkpoint) เพราะบางกรณีเซลล์มะเร็งจะอาศัยระบบนี้ในการ “ซ่อนตัว” จากการถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยากลุ่มนี้จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตรวจจับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น วัคซีนโรคมะเร็ง (Cancer Vaccines) วัคซีนโรคมะเร็งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้โดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง หรือปกป้องร่างกายให้ปลอดจากมะเร็งได้ อาทิ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบไม่จำเพาะ (Non-specific Immunotherapies) ภูมิคุ้มกันบำบัดประเภทนี้ไม่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อมะเร็งโดยตรง แต่เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยทั่วไป เพื่อให้ตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2022-02-11 16:46:14

...
อาการของ โอมิครอน

สายพันธุ์โอมิครอน แพร่เชื้อง่ายไวกว่าเดลต้า เคยติดเชื้อแล้ว ติดซ้ำได้! โควิดสายพันธุ์โอมิครอน #Omicron แพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า หลบภูมิคุ้มกันเก่ง แม้ว่าจะเคยติดโควิดมาก่อนแล้ว ก็สามารถติดสายพันธุ์นี้ซ้ำได้ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน อันตราย! ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อาการส่วนใหญ่ที่พบในผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน 54% ไอ 37% เจ็บคอ 29% ไข้ 15% ปวดกล้ามเนื้อ 12% มีน้ำมูก 10% ปวดศีรษะ 5% หายใจลำบาก 2% ได้กลิ่นลดลง (ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2564) แนวทางการป้องกันโควิดกลายพันธุ์ ป้องกันตนเองอยู่เสมอ อย่าลืม! สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1.5 เมตร จะช่วยป้องกันเราจากโควิดโอมิครอนนี้ได้

2022-02-11 16:05:00

...
หน้ากากอนามัย n95 ใช้ซ้ำได้หรือไม่!!!

หน้ากาก N95 ใช้ซ้ำได้หรือไม่? หน้ากาก N95 แบบใช้แล้วทิ้ง สามารถใช้ซ้ำได้ 2-3 วัน หรืออาจจะเร็วกว่านั้นหากเริ่มรู้สึกหายใจลำบากากขึ้น หรือหายใจแล้วได้กลิ่นแปลกๆ หรือรู้สึกเหมือนมีฝุ่นอยู่ในหน้ากากทั้งๆ ที่หน้ากากแนบสนิทกับใบหน้าดีแล้ว รวมถึงหากใส่แล้วรู้สึกหน้ากากไม่กระชับกับใบหน้าดังเดิม หรือพบรอยฉีกขาดและพบรอยเปื้อนจากสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น ส่วนหน้ากากที่เป็นแบบซักได้ ก็ควรซักหน้ากากทุกวัน หรือทุกๆ 1-2 วัน และเปลี่ยนไส้กรองทุกๆ 2-3 วัน หรือเร็วกว่านั้นหากสวมใส่หน้ากากแล้วหายใจไม่สะดวก หรือได้กลิ่นเหมือนฝุ่นภายใต้หน้ากาก เกร็ดความรู้ : หน้ากาก N95 สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่าได้ถึง 0.3 ไมครอน แต่ไม่สามารถป้องกันกลิ่นได้ หากใช้แล้วยังได้รับกลิ่นรอบตัวอยู่ เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นน้ำหอม และกลิ่นอื่นๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่าต้องรีบเปลี่ยนหน้ากาก

2022-02-11 15:57:21

...
โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ พบบ่อยในเด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน ผู้ป่วยมักมีประวัติเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หรือหอบหืด โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ตอนเช้ามืดคนในครอบครัวผู้ป่วยมักมีประวัติโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ แพ้อากาศ ไอจามบ่อยๆ หอบหืด หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหาร หรือสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากผิวหนังของผู้ป่วยไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งสภาพร้อน เย็น แห้ง ชื้น เชื้อโรค และสารเคมีที่ระคายผิวหนัง อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเลยก็เป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะความผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ในยีนของครอบครัวผู้ป่วยโดยไม่เกิดอาการก็ได้ โรคนี้แบ่งลักษณะตามช่วงอายุได้เป็น 3 ช่วง1.ช่วงวัยทารก เริ่มมีอาการคัน และผื่นขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ อาการคันอาจเป็นมากจนเด็กอายุถึง 2 ขวบ พบเป็นผื่นที่แก้มทั้ง 2 ข้าง หรือตามด้านนอกของแขน ขา ลำตัว ผื่นคันอาจเห่อขึ้นเมื่อเด็กฉีดวัคซีน เมื่อเด็กมีอาการผื่นคันอยู่แล้วจึงต้องระมัดระวังในการฉีดวัคซีน หรือควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน2.ช่วงวัยเด็ก ผื่นผิวหนังในช่วงวัยเด็กมักเป็นตามข้อแขนข้อพับ และขา ผื่นจะแดง คลำดูได้หนากว่าปกติ อาการคันอาจเป็นรุนแรงมาก จึงทำให้เด็กหงุดหงิดรำคาญ3.ช่วงวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ พบว่าโรคผิวหนังภูมิแพ้ในวัยทารก และวัยเด็กอาจหายไปเองใน 2-3 ปี แต่กลับมากำเริบอีกครั้งในวัยรุ่น อาจมีอาการคันอย่างมาก อาการคันมักกำเริบตอนกลางคืน ผื่นคันมักเป็นตามข้อพับ แขน ขา ใบหน้า หัวไหล่ และด้านบน อาการและลักษณะของผื่นแพ้1.ผื่นผิวหนังอักเสบในโรคนี้อาการคันมาก ลักษณะเป็นผื่นแดง หรือมีตุ่มแดงนูน ตุ่มน้ำใส ซึ่งเมื่อแตกออกเป็นน้ำเหลืองไหลเยิ้มแล้วกลายเป็นสะเก็ดแข็ง ถ้าผื่นนี้เป็นมานานเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะพบเป็นแผ่นหนาแข็ง มีขุย ตำแหน่งที่พบผื่นแตกต่างกันได้ตามวัยของผู้ป่วยในเด็กเล็ก ช่วงขวบปีแรก ผื่นผิวหนังอักเสบจะพบมากบริเวณใบหน้า ศีรษะ เด็กมักจะเอาแก้ม หรือศีรษะถูกไถกับหมอน ผ้า ที่นอน เพราะผื่นคันมาก2.ในเด็กวัยเรียน และผู้ใหญ่ ผื่นผิวหนังอักเสบพบมากในบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา คอ ใบหน้า และผิวหนังตำแหน่งที่มีการเสียดสีแต่ในรายที่เป็นมากๆ ผื่นเกิดทั่วร่างกายได้3.โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง เป็นโรคที่มีผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ ในเด็กทารกมักเป็นผื่นคันที่แก้ม รอบปาก หนังศีรษะ ซอกคอ เด็กที่โตขึ้นจะมีผื่นตามข้อพับ แขนขา หรือบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อยๆ เช่น ข้อศอก เข่า อาการที่สำคัญคือ “คันมาก” ผื่นจะกำเริบมากขึ้นเมื่อผิวแห้ง หรือมีเหงื่อออกมาก ยุงกัด อาการคันทำให้ผู้ป่วยเกา ส่งเสริมให้ผื่นลามกว้างขึ้น และอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วย ปัจจัยที่ทำให้ผื่นกำเริบมากขึ้น1.สภาวะแวดล้อม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น2.เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา อาจแทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนังของผู้ป่วย ผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะกำเริบมากขึ้น กรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย3.ฤดูกาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้น ในช่วงฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศต่ำ อากาศแห้ง เย็น ทำให้ผิวหนังผู้ป่วยคันและเป็นผื่น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพราะอากาศที่ร้อนทำให้เหงื่อออกมาก เกิดอาการคัน และเกิดผื่นเช่นเดียวกับในฤดูหนาว4.เสื้อผ้า เครื่องนุ่มห่ม และเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์ จะทำให้เกิดการคันเพิ่มเติม5.สบู่ ครีม โลชั่น และผงซักฟอกที่ใช้เป็นประจำ สารเคมีเหล่านี้มีฤทธิ์ละลายไขมัน หรือ/และอาจมีส่วนประกอบที่ก่ออาการระคายเคืองแก่ผิวหนังทำให้เกิดอาการคันและเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้ง่าย6.อาหาร ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 10 พบว่าอาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นแย่ลง มักพบในผู้ป่วยเด็ก เช่น นม ไข่ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์บางประเภท7.จิตใจที่วิตกกังวลความเครียดก็สามารถทำให้โรคกำเริบได้ การรักษา 1.หลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้น เช่นไม่อยู่ในห้องปรับอากาศที่เย็นจัด ไม่อาบน้ำที่มีอุณหภูมิเย็น หรือร้อนจัด และควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมาก2.รับประทานยาต้านฮิสตามีน ลดอาการคัด เมื่อมีอาการคันควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน วันละ 2-3 ครั้งติดต่อ เว้น 5-7 วัน เพื่อลดอาการคัน เพราะอาการคัดทำให้ผู้ป่วยต้องแกะเกาผิวหนัง ผื่นผิวหนังที่อักเสบจะกำเริบขึ้นได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่คลอเฟนนิลามีน สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ข้อที่ควรระวังคือ ยานี้มีผลข้างเคียงคือ อาการง่วงนอน3.ยาทากลุ่มสเตรียรอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผื่นผิวหนัง ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะโรคกลุ่มนี้ต้องใช้ยานาน อาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้อง4.กรณีที่มีตุ่มหนองเกิดแทรกซ้อนบนตุ่มหรือผื่นแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์เพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย วิธีทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น 1.ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัด หรืออาบน้ำบ่อยเกินไป2.ไม่ควรฟอกสบู่บ่อยๆ โดยเข้าใจผิดคิดว่าอาการคัน เกิดจากความสกปรกของผิวหนัง การถูสบู่มากๆ ทำให้ผิวระคาย และแห้ง กลับทำให้เป็นผื่นมากขึ้นอีก สบู่ที่เลือกใช้ไม่ควรเป็นกรดหรือด่างจนเกินไป ไม่มีสี หรือน้ำหอมเจือปน3.ใช้สารเคลือบผิว (Emollients) ผสมน้ำแช่อาบ หรือ ทาผิวหนังทันทีหลังอาบน้ำ และใช้ครีม Moisturizer หรือ โลชั่นทาเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังบ่อยๆ วิธีลดอาการคัน 1.การลดอาการคัน เพื่อลดการเกาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีผื่นลุกลามขึ้น2.อย่าใช้เสื้อผ้าที่ระคายง่าย อับร้อน ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ และควรซักล้างผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่มออกให้หมด3.ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมอากาศที่สบาย ไม่ร้อน หรือหนาวจนเกินไป4.ไม่ควรใช้น้ำหอม สเปรย์ และหลีกเลี่ยงขนสัตว์ ฝุ่น ควันบุหรี่5.อย่าออกกำลังกายมากขณะที่มีผื่นกำเริบ เพราะจะทำให้เหงื่อออกมาก และคัน6.ลดการเกา โดยตัดเล็บให้สั้น ตะไบเล็บอย่าให้คม ในเด็กเล็ก อาจสวมถุงมือให้เวลานอน เพื่อไม่ให้เกาเวลาหลับ

2022-02-11 14:40:10