การปวดท้องประจำเดือนของผู้หญิง

การปวดท้องประจำเดือนของผู้หญิง

อาการปวดท้องประจำเดือนมักจะเกิดกับผู้หญิง มีอาการก่อนประจำเดือนมา1-2 วัน หรือปวดวันที่ประจำเดือนมาวันแรก และระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรกๆ อาการปวดประจำเดือนมีตั้งแต่อาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อย และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสียหรือท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและปวดศีรษะ เป็นต้น

อาการปวดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน

  1. ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุมักเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป
  2. ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ 

หากมีอาการปวดประจำเดือน ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดย

  1. ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและหลัง
  2. อาบน้ำอุ่น
  3. ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือนั่งสมาธิ
  4. รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรรับประทานเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนมีอาการปวด การรับประทานยาแก้ปวดอาจมีผลข้างเคียง ดังนั้นควรใช้เมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  7. รับประทานผักและผลไม้ จากการศึกษาพบว่าทานอาหารที่มี Vitamin E, Omega-3 Fatty Acids, Vitamin B1, Vitamin B6 และ Magnesium ช่วยลดการปวดประจำเดือนได้

ข่าวสารแนะนำ
...
โรคตาบอดสี

ตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) เป็นภาวะการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจนหรือผิดเพี้ยนไปจากผู้ที่มีสายตาผิดปกติ โดยมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การมองเห็นสีของดวงตาจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว  ส่วนอีกชนิด คือ เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) ที่มีความไวในการรับแสงที่สว่างกว่าเซลล์รูปแท่ง และสามารถแยกแสงสีต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยเซลล์รูปกรวยนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ เซลล์รูปกรวยชนิดที่ไวต่อแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์รูปกรวยครบทั้ง 3 ชนิดที่ไวต่อแสง แต่ละสีก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองในการแยกสี และการผสมของแสงสีต่าง ๆ จากเซลล์นี้ จึงทำให้คนปกติสามารถมองเห็นสีได้หลายโทนสี   อาการของตาบอดสี ภาวะตาบอดสีในแต่ละบุคคลอาจมีอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของตาบอดสีที่เป็น แต่อาจจะสังเกตได้จากสัญญาณเตือนเหล่านี้ จดจำและแยกสีต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในการบอกสีที่เห็น เช่น แยกความต่างของสีเขียวและแดงไม่ได้ แต่สามารถแยกสีน้ำเงินและเหลืองได้ง่าย สามารถมองเห็นสีได้หลากหลายสี แต่บางสีอาจมองเห็นต่างไปจากคนอื่น มองเห็นเฉพาะบางโทนสีเท่านั้น ซึ่งต่างจากคนปกติที่จะสามารถมองเห็นสีได้มากกว่าร้อยสีในบางรายสามารถมองเห็นได้เฉพาะสีดำ ขาว และเทา แต่แทบไม่พบตาบอดสีประเภทนี้ สาเหตุของตาบอดสี ตาบอดสีเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ กรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุหลักของตาบอดสีได้มากที่สุด หากบุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีจะส่งต่อพันธุกรรมไปยังรุ่นต่อไปโดยการถ่ายทอดผ่านยีนด้อยบนโครโมโซมเพศชนิดเอ็กซ์ สาเหตุอื่น ในบางราย ตาบอดสีอาจเกิดได้จากสภาวะบางอย่างของร่างกาย เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ได้ตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น โรคเกี่ยวกับด้านดวงตาหรือการบาดเจ็บบริเวณจอตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา โรคอื่น ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคเบาหวาน หรือโรคพาร์กินสัน ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด   การได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์หรือสไตรีน อาจส่งผลต่อการสูญเสียการมองเห็นสี การรักษาตาบอดสี ตาบอดสีที่เกิดจากกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์หรือจักษุแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นตาบอดสีที่มีสาเหตุมาจากสภาวะหรือโรคประจำตัวอื่น ๆ อย่างโรคเบาหวานตา แพทย์จะรักษาจากสาเหตุหลักของโรค เพื่อช่วยให้อาการโดยรวมดีขึ้นและบรรเทาอาการแทรกซ้อนทางสายตาให้ดีขึ้นด้วย การป้องกันตาบอดสี ตาบอดสียังไม่สามารถป้องกันการเกิดได้อย่างเต็มที่ แต่สามารถเลี่ยงหรือลดโอกาสการเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยควรมีการตรวจคัดกรองตาบอดสีและทดสอบสายตาในเด็กอายุประมาณ 3-5 ขวบ หรือเด็กควรได้รับการตรวจสายตาอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนเข้าโรงเรียน แต่หากเป็นบุคคลที่มีคนในครอบครัวเป็นตาบอดสี ควรมีการตรวจเช็คสายตาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ผู้ที่ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นตาบอดสี ควรสังเกตความผิดปกติของสายตาตนเองเช่นกัน เนื่องจากตาบอดสีเกิดได้จากสาเหตุอื่น เมื่อสงสัยว่ามีปัญหาทางด้านสายตาหรือการมองเห็นสีที่ผิดปกติไป ควรรีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์ เพื่อค้นหาต้นเหตุความผิดปกติและได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี   อ้างอิง :https://www.pobpad.com/ตาบอดสี  

2022-02-15 09:13:27

...
โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ เกิดจากอะไร?โรคภูมิแพ้ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เมื่อได้รับ “สารก่อภูมิแพ้” เข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการปฏิกิริยาที่ผิดปกติ สารก่อภูมิแพ้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง อาทิ ทางเดินหายใจ การกินอาหาร การสัมผัส ซึ่งโรคภูมิแพ้สามารถเกิดได้ใน 2 สาเหตุหลัก คือ กรรมพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยการเกิดจากกรรมพันธุ์ มีความเป็นไปได้ว่าหากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นก็มีสูงมากถึง 60% อาการของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนใหญ่แล้วโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจประกอบด้วยการแพ้ที่แสดงออกทางจมูก ช่องคอ หลอดลม โดยอาจมีอาการคันตา เคืองตา หรือมีน้ำตาไหลร่วมด้วย ซึ่งภูมิแพ้ทางเดินหายจะเกิดได้ใน 2 ส่วนหลัก คือ ทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณโพรงจมูก อาการส่วนใหญ่ที่พบคือ ไอ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก หูอื้อ หายใจไม่สะดวกเพราะเนื้อเยื่อในจมูกบวมขึ้นทางเดินหายใจส่วนล่างบริเวณหลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจเสียงหวีด ไอเรื้อรัง เหนื่อยง่าย หรือเป็นโรคหืด ที่คนส่วนมากชอบเรียกว่าโรคหอบหืด ภูมิแพ้ทางเดินหายใจรักษาหายไหมหัวใจสำคัญของการรักษาโรคภูมิแพ้คือต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายต่อสู้กับสารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงมลพิษเช่น pm2.5 ร่วมกับการพบแพทย์ ติดตามอาการ อาจมีการใช้ยาพ่นจมูก ใช้น้ำเกลือล้างจมูก รวมถึงรับประทานยาแก้แพ้เพิ่มเวลามีอาการ ช่วยให้อาการต่างๆ บรรเทาลงได้ การรักษาด้วยวิธีการปรับภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) มี 2 วิธีหลัก คือ วิธีฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าใต้ผิวหนัง และค่อยๆ เพิ่มปริมาณทีละนิดทุกครั้งที่มาพบแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยสร้างภูมิที่ดีมาต้านปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารนั้นได้ และอีกวิธีเป็นการใช้สารที่ผู้ป่วยแพ้อมใต้ลิ้นทุกวัน ปัจจุบันในประเทศไทยวิธีอมใต้ลิ้น มีใช้เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่แพ้ต่อไรฝุ่น ทั้งนี้ในการรักษาด้วยวิธีปรับภูมิคุ้มกัน (immunotherapy) ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทาง เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการรักษาได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการแพ้ มีผื่น หายใจไม่ออก หรืออาจแพ้รุนแรงได้ โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูกอักเสบ โรคหืด อาจไม่ใช่ภาวะที่ทำให้ต้องมาพบแพทย์ทันที แต่หากปล่อยทิ้งไว้ และยังสัมผัสต่อสารแพ้ต่อเนื่อง อาจทำให้มีผลแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ ไอเรื้อรังจากเสมหะไหลลงคอ มีอาการหอบหืด เกิดเป็นโรคหืดที่คุมอาการไม่ได้จนอาจมีระบบหายใจล้มเหลวได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสารที่ตนแพ้ พบแพทย์ ใช้ยาต่อเนื่อง และหากไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาวิธีรักษาด้วยการปรับภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) ต่อไป

2022-02-14 14:19:04

...
โรคตับแข็ง

โรคตับแข็ง ตับมีหน้าที่ทำลายสารพิษ หรือของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารเพื่อให้เลือดแข็งตัว สร้างน้ำดีเพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง เนื้อตับที่ถูกทำลายจะมีผังผืดแทรกและเบียดเนื้อตับที่ดีทำให้เลือดไปเลี้งที่ตับน้อยลง สาเหตุของโรคตับแข็ง การดื่มสุรา มากกว่า 160 กรัมต่อวัน เทียบเท่ากับ สุราวิสกี้ 480 ซีซีต่อวัน ไวส์ 1,800 ซีซีต่อวัน เบียร์ 4 ลิตร ต่อวัน เป็นเวลา 8-10 ปี ปริมาณของสุราที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง แปรผันตามแต่ละบุคคล เพศไวรัสตับอักเสบ บี,ซีภาวะดีซ่านเรื้อรัง จากท่อน้ำดีอุดตัน เนื่องจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดี หรือเนื้องอกอุดตัน หรือเบียดท่อน้ำดีภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ทำให้เลือดคั่งที่ตีบ เลือดไหลเวียนในตับลดลง เนื้อตับเกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้เซลล์ตับตายโรคตับอักเสบจากภูมิต่อต้านตนเอง เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันมาทำลายตับตนเอง โรคนี้พบน้อยโรคกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น โรควิลสัน มีการสะสมทองแดงในตับ hemochromatosis มีการสะสมเหล็กมากในตับโรคตับอักเสบจากไขมันสะสมที่ตับ พบในโรคไขมันสูง เบาหวาน อ้วน อาการ : ผู้ป่วยตับแข็งในระยะแรกจะไม่มีอาการ เมื่อตับแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดอาการของโรคตับแข็งได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ถ้าอาการโรคเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของโรคแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง เช่น บวม ตาเหลือง ตัวเหลือง สูญเสียความจำ อาเจียนเป็นเลือดจากการแตกของหลอดเลือดดำ ท้องมาน มะเร็งตับ ไตวาย การรักษา เมื่อเกิดโรคตับแข็งขึ้นแล้ว ในขณะนี้ยังไม่มียาใดๆที่สามารถให้ตับกลับมาเป็นปกติได้ นอกจากป้องกันไม่ให้ตับแข็งเป็นมากขึ้น โดยการรักษาสาเหตุ เช่น งดดื่มสุราจากรายที่มีสาเหตุจากสุรา รักษาไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ในรายที่เป็นไวรัสตับอักเสบ บีและซีผู้ป่วยตับแข็งควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรได้อาหารครบถ้วน ควรหลีกเลี่ยงสารพิษต่อตับ เช่น สุรายาที่มีผลเสียต่อตับ เช่น พาราเซตามอลในรายที่มีอาการบวม ขา หรือท้องมานควรลดการรับประทานเกลือ อาหารดองเค็ม น้ำปลา ซีอิ๊ว เพราะจะทำให้บวมมากขึ้น ในรายบวมมาก แพทย์จะสั่งยาขับปัสสาวะ เพื่อลดอาการบวมการผ่าตัดเปลี่ยนตับ เป็นการรักษาที่ดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดที่มีค่าใช้จ่ายสูง และตับที่มีผู้บริจาคมีจำนวนน้อย ผู้ป่วยเปลี่ยนตับทานยากดภูมิคุ้มกันไปตลอด   อ้างอิง : https://www.thonburihospital.com/Cirrhosis.html

2022-02-14 13:59:48

...
โรคลมบ้าหมู (โรคลมชัก)

โรคลมบ้าหมู (โรคลมชัก) เกิดจากความผิดปกติของการนำกระแสไฟฟ้าภายในสมอง มักจะเป็นพักๆ (ช่วงเวลาสั้นๆ) และมีโอกาสเป็นซ้ำสูง ยกเว้นภาวะชักต่อเนื่อง (Status epilepticus) แต่เดิมคนไทยเคยเรียกว่า โรคลมบ้าหมู ปัจจุบันใช้คำว่า โรคลมชัก และในอนาคตมีแนวโน้มจะเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เป็นโรคคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติแทน (Abnormal brain wave) ที่เปลี่ยนชื่อเนื่องจากอาการของโรคลมชักไม่จำเป็นต้องมีอาการชักเกร็งหรือ กระตุกของกล้ามเนื้อ แต่อาการผิดปกติที่พบบ่อยสุด คือ อาการเหม่อลอย อาจมีตาค้างหรือ ตาเหลือก และเรียกไม่รู้สึกตัว ดังนั้น การวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักอาจสร้างความเข้าใจผิด ว่าต้องมีอาการชักเกร็ง กระตุกของร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในแง่การเข้าสังคม รวมถึงการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ป่วย การวินิจฉัยและการสืบค้นในโรคลมชัก (Diagnosis and investigation)                     ผู้ป่วยจะต้องมีการชักโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้นมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป หรือชักครั้งแรกแต่มีโอกาสที่จะชักซ้ำสูง ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการชักครั้งแรก จำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินว่าจะมีโอกาสขักซ้ำมากเท่าใด รวมทั้งหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชัก ซึ่งการประเมินดังกล่าว ต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจวินิจฉัยสมอง (CT or MRI brain) และที่สำคัญที่สุดคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ส่วนการตรวจน้ำไขสันหลัง (CSF analysis) จะทำเฉพาะบางกรณี เช่น สงสัยภาวะติดเชื้อในระบบประสาท การรักษาลมบ้าหมู (โรคลมชัก) ประกอบด้วย การรับประทานยากันชัก (Anti-epileptic drug) และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การอดนอน การออกกำลังกายหักโหม ยาบางชนิด การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด  ภาวะตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จะสามารถหายขาดจากโรคลมชักโดยประมาณ 60-70% ส่วนกลุ่มที่เหลืออีก 30% จะเรียกว่าภาวะที่ดื้อต่อยากันชัก ซึ่งปัจจุบันสามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดรักษาโรคลมชักยังมีอีกหลายวิธี ซึ่งมีความจำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละรายไป จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลโรคลมชักเป็นหลักจะสามารถแนะนำวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยได้ สาเหตุที่พบได้บ่อย (Common etiology) คือแผลเป็น (gliosis) ที่เกิดขึ้นบนผิวสมอง ซึ่งอาจเกิดจากโรคติดเชื้อภายในสมอง ภายหลังอุบัติเหตุทางสมอง ภายหลังจากเลือดออกในสมอง หรือ หลอดเลือดสมองตีบตัน เนื่องอกภายในสมอง ภาวะชักซ้ำๆ หรือ ภาวะชักต่อเนื่อง สามารถพบในสมองเด็กที่กำลังเจริญเติบโตที่เรียกว่ากลุ่มอาการโรคลมชักในเด็ก (Epilepsy syndrome) หรือแม้กระทั่งสมองของผู้สูงอายุที่มีรอยเหี่ยวย่นผิดปกติ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 10-20% ที่ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติใดๆภายในสมอง   อ้างอิง :https://www.thonburihospital.com/โรคลมบ้าหมู_.html

2022-02-14 11:43:43